ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพ “สไปรต์” หรือปรากฏการณ์การเปล่งแสงที่ความสูงระฟ้า

เมื่อคืนวันที่ 2 กันยายน หอดูดาวเมืองนาโยโระ (เมืองนาโยโระ) ในฮอกไกโดตอนเหนือ ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพปรากฏการณ์การเปล่งแสงที่เรียกว่า “สไปรต์” ซึ่งมีแสงวาบสีแดงพุ่งขึ้นไปทางอวกาศโดยเกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าของเมฆฝนฟ้าคะนอง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นที่ระดับความสูงระฟ้าประมาณ 40-80 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน ในประเทศญี่ปุ่นสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้งในภูมิภาคโฮคุริคุในฤดูหนาวหรือภูมิภาคอื่นๆ หายากที่จะถ่ายภาพไว้ได้ในฮอกไกโด หอดูดาวเมืองนาชิโระจะเปิดเผยภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายไว้ได้ทางเว็บไซต์เร็วๆ นี้
เมื่อเห็นแสงที่คาดว่าเปล่งออกมาจากเมฆฝนฟ้าคะนองบนท้องฟ้าเหนือเกาะเรบุงซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทางราว 150 กิโลเมตร หัวหน้าฟุมิทาเกะที่หอดูดาวเมืองนาชิโระก็ถ่ายภาพมันไว้จากดาดฟ้าของหอดูดาวเมื่อวันที่ 2 กันยายน เวลาประมาณ 21:00 น. โดยถ่ายภาพนิ่ง 2 ครั้ง ภาพเคลื่อนไหว 2 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง จับภาพการเปล่งแสงที่แต่ละครั้งเกิดขึ้นเพียงชั่วแวบไม่ถึง 0.1 วินาที เจ้าตัวเล่าว่า “เคยคิดว่าอยากถ่ายมันให้ได้สักวันหนึ่ง แต่ไม่เคยได้ยินมาก่อนว่าเคยมีผู้พบเห็นปรากฏการณ์นี้ในฮอกไกโด พอได้เห็นปรากฏการณ์ก็เลยประหลาดใจ”
ปกติการปล่อยกระแสไฟฟ้าของเมฆฝนฟ้าคะนองจะก่อให้เกิดการเปล่งแสงภายในเมฆหรือฟ้าผ่า แต่นานๆ ครั้งก็เกิดปราฏการณ์สไปรต์ที่เปล่งแสงบนท้องฟ้าที่มีเมฆฝนฟ้าคะนอง พื้นที่ที่อยู่ใต้เมฆฝนฟ้าคะนองจะมองไม่เห็น จะสังเกตเห็นได้จากพื้นที่ที่อากาศแจ่มใสและอยู่ห่างไกล
ศาสตราจารย์ทาคาฮาชิ ยูกิฮิโระ (ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกและดาวเคราะห์) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปรากฏการณ์สไปรต์ เขาตั้งความหวังว่า “เป็นไปได้ว่าการค้นคว้าเกี่ยวกับสไปรต์จะนำไปสู่การไขปริศนากลไกการเกิดเมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่งเป็นต้นเหตุของฝนไล่ช้าง ในเมื่อรู้แล้วว่าสามารถสังเกตเห็นในฮอกไกโดได้ด้วย หวังว่าจะทำให้มีคนสังเกตการณ์มันมากขึ้น”
Location
Nayoro Municipal Astronomical Observatory
Related
วันที่ 2 เมษายนคณะกรรมการบริหารงานเทศกาล "Down the Tessi” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานเทศกาลล่องเรือแคนูที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นตามแม่น้ำเตชิโอะ ตัดสินใจจะจัดเทศกาลในปีนี้ในวันที่ 17 กรกฎาคม บนเส้นทาง 34 กม. ร...
ทางรถไฟวาดโค้งกลางหิมะ เมื่อรถไฟรัสเซลล์สีแดงปรากฏตัวจากในหมู่ไม้พร้อมเสียงหวูด เสียงกล้องก็ดังขึ้นเบาๆ โดยพร้อมเพรียง มีทั้งเสียง “แชะๆๆ” และเสียง “พั่บๆ” เสียงคล้ายฝูงนกหรือแมลงกระพือปีกดังต่อเนื...