【ตอน】เหล่าภูตพรายบนผืนปฐพีของคามุอิ
เราขอแนะนำการเปลี่ยนผันของสี่ฤดูกาลเป็นซีรี่ส์ยาว ผ่านภาพของสัตว์ป่าที่ใช้ชีวิตอย่างกระตือรือร้นตามป่าลึก พื้นที่ชุ่มน้ำ และทะเล ราวกับอยู่ในอ้อมกอดของ “คามุอิ” ซึ่งมีความหมายว่าเทพเจ้าในภาษาไอนุ ตอนที่ 1 นำเสนอกวางฮอกไกโดบนคาบสมุทรโนซึเกะ
(ชิเงรุ ทาดาโนบุ แผนกข่าวคุชิโระ เป็นผู้รับผิดชอบการเขียนบทความและจัดหาภาพถ่าย)
Special feature
【ตอน】เหล่าภูตพรายบนผืนปฐพีของคามุอิ (45) กระต่ายไพกานอนหงายเป็นการผ่อนคลาย

ผมปีนไปถึงเชิงภูเขาโทคาจิดาเกะที่ระดับความสูงเกือบพันเมตรเพื่อหลบอากาศร้อนในฤดูร้อน กระต่ายไพกาขนาดตัวราว 15 เซนติเมตรโผล่มาพร้อมเสียงร้องแหลมสูงดัง “กิ๊ กิ๊” ตรงทางลาดที่มีหินก้อนน้อยใหญ่กองเกลื่อน
ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 1 หมื่นปีก่อน น้ำทะเลมีระดับต่ำกว่าปัจจุบัน ฮอกไกโดยังเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ เมื่อยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง แผ่นดินใหญ่กับฮอกไกโดถูกทะเลกั้น คาดว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทำให้กระต่ายไพกาหนีเข้าไปในเขตภูเขาซึ่งมีอากาศเย็น จนมีชีวิตรอดมาได้
กระต่ายไพกาไม่ถูกกับอากาศร้อน แต่นานๆ ครั้งสภาพอากาศก็ล่อลวงให้มันออกมาอาบแดด ร่างที่หันข้างค่อยๆ เปลี่ยนมานอนหงาย มันพิงหลังกับช่องว่างระหว่างหิน หันพุงเข้าหาพระอาทิตย์นอนสบาย
หายากที่จะเห็นสัตว์ป่านอนหงายเหมือนสุนัขอ้อนเจ้าของ นอกจากกระต่ายไพกาก็เคยเห็นแค่นากทะเลบนผิวน้ำกับหมีสีน้ำตาลเวลาให้นมลูกที่ทำท่าแบบนี้
(ภาพถ่ายและเนื้อหาโดย ชิเงรุ ทาดาโนบุ