สหกรณ์การเกษตรคุชิโระโอตะแถบอักเคชินำโดรนมาใช้รับมือหมี เพื่อให้รู้สภาพความเสียหายของพืชผลอย่างแท้จริง

วัวในตำบลอักเคชิ แถบคุชิโระ ฮอกไกโดตะวันออก ถูกหมีสีน้ำตาลทำร้ายอย่างต่อเนื่อง สหกรณ์การเกษตรคุชิโระโอตะจึงนำอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กหรือโดรนที่มีกล้องอินฟราเรดกับลำโพงมาใช้เพื่อรับมือหมี ใช้บินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ไร่ข้าวโพดเด็นโตะสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งยังรอการเก็บเกี่ยว พอเจอหมี โดรนจะขู่หมี เพื่อลดความเสี่ยงที่คนจะถูกทำร้าย ทางสหกรณ์คิดว่านอกจากจะช่วยรับประกันความปลอดภัยแล้ว ยังสามารถสำรวจวิถีชีวิตและจับหมีได้อีกด้วย
โดรนมีขนาดกว้างและยาวด้านละ 50 เซนติเมตร บินด้วยใบพัด 4 ใบ น้ำหนักราว 200 กรัม มีกล้องกำลังขยายสูงติดเซ็นเซอร์อินฟราเรดตรวจจับอุณหภูมิ และลำโพงที่เปิดเสียงสัญญาณเตือนภัยกับเสียงมนุษย์ได้ มันแช่อยู่นิ่งๆ บนฟ้าเป็นเวลาเกือบ 30 นาที
จนถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมหมีตัวผู้บุกทำร้ายโคนม 4 แห่งในตำบล รวมทั้งหมด 9 ตัว ไร่ข้าวโพดพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตรเคยถูกกวางทำเสียหายไป 54,000 ตารางเมตร รวมมูลค่าความเสียหาย 3.72 ล้านเยน แต่คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นฝีมือหมี
เมื่อวันที่ 11 กันยายน ระหว่างที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ของตำบลและกลุ่มนักล่าจับตาดู โดรนก็บิดสอดส่องไร่จากท้องฟ้าสูง 30-40 เมตรในฟาร์ม 3 แห่ง เหล่าเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์การเกษตรมองจอมอนิเตอร์ของอุปกรณ์ควบคุม แล้วก็ต้องประหลาดใจว่า “มีร่องรอยว่าหมีมากิน” “มองเห็นชัดเจนเลย” โดรนไม่พบหมีหรือกวาง แต่ก็ได้พิสูจน์ความแม่นยำในการตรวจจับอุณหภูมิและสมรรถภาพของลำโพงที่ดังไกล 1 กิโลเมตรรอบทิศทาง คุณโทคุดะ เซ็นอิจิ หัวหน้าสหภาพ กล่าวว่า “เราเตรียมระบบที่สามารถตรวจพบและป้องกันหมีเรียบร้อยแล้ว อยากให้มันเป็นประโยชน์ในการจับหมีที่ทำร้ายโคนม”
Location
Kushiro Ohta Agricultural Cooperative
Related
แตงโมชั้นสูง “เดนซุเกะ” ที่เป็นแตงโมเฉพาะของเมือง ได้เริ่มจัดส่งตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายนในเมืองโตมะในเขตคามิคาวะ ภาคเหนือของฮอกไกโด ปีนี้อากาศดีอย่างต่อเนื่อง แตงโมจึงค่อนข้างโตขึ้นกว่าปกติเล็กน้อ...
ที่เมืองโฮคุริวในพื้นที่โซราจิ ฮอกไกโดตอนกลาง เริ่มจัดส่งแตงโมพิเศษขนาดเล็ก "แตงโมทานตะวัน" หรือ "ฮิมาวาริ ซุยกะ" ในภาษาญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พันธุ์นี้โดดเด่นด้วยเนื้อสีเหลืองที่ชวนให้น...
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน การประมงกุ้ง “ฮอกไกชิมาเอบิ” ซึ่งบ่งบอกถึงการมาถึงของต้นฤดูร้อน เริ่มขึ้นโดยสหกรณ์ประมงอัคเคชิที่อ่าวอัคเคชิและทะเลสาบอัคเคชิ เมื่อชาวประมงเอากุ้งที่เพิ่งจะถูกจับใหม่ๆ ใส่หม้...